วัดอรุณฯ แจงแล้ว ทำไมพระปรางค์เป็นโทนสีขาวหลังบูรณะใหม่
- by TAP special team
- Aug 16, 2017
- 1 min read
พระศากยปุตติยวงศ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาส ที่รับผิดชอบงานบูรณะปฏิสังขรณ์ ออกมาชี้แจงถึงเรื่องที่เกิดขึ้นว่า ที่เห็นเป็นสีขาวนั้นเกิดจากการทำความสะอาดคราบตะไคร้และทาสีน้ำปูน ซึ่งเป็นสีเดิมขององค์พระปรางค์ ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ
ส่วนกระเบื้องหลากสีที่ไม่พบนั้น เป็นเพราะภาพที่ถูกเผยแพร่เป็นภาพส่วนหนึ่งของมณฑปทิศ ไม่ใช่องค์พระปรางค์ จึงไม่มีชิ้นส่วนกระเบื้องประดับอยู่แล้ว

และขอยืนยันว่าการบูรณะครั้งนี้มีควบคุมดูแลโดยเจ้าหน้าที่ของกรมศิลปากรที่มีความรู้ความชำนาญ และอยู่ในความดูแลของวัดทุกขั้นตอนรวมถึงมีการบันทึกรายละเอียดข้อมูลก่อนการดำเนินการเพื่อให้คงของแท้ดั้งเดิมมากที่สุด
ส่วนเรื่องของสีที่ไม่เหมือนสีของพระปรางค์ก่อนที่จะมีการบูรณะนั้น(สีดำ) เป็นเพราะ
การบูรณะครั้งก่อน = ช่างใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์สมัยใหม่ (ปูนดำ) มาซ่อม
การบูรณะครั้งล่าสุด = ผิวปูนฉาบทั้งหมดถูกซ่อมด้วยปูนหมัก (ปูนขาวผสมทราย) แล้ว ขัดผิวมันด้วยปูนตำสีขาว ตามวิธีเดิมครั้งแรกสร้าง

ข้อดี/ข้อเสีย ระหว่างปูน 2 ชนิดนี้
ปูนขาว = เป็นปูนหมักมีเนื้ออ่อน พอหมดอายุก็จะหลุดร่อนไปโดยไม่กระทบกระเทือนกระเบื้อง
ปูนดำ = ลักษณะแข็ง ทำให้กระเบื้องข้างเคียงชำรุดได้ เมื่อมีการสกัด(กรณีบูรณะกระเบื้อง)
ส่วนเรื่องกระเบื้องโบราณชำรุด แล้วเอาไปทำเป็นวัตถุโนราณนั้น ทางอธิบดีกรมศิลปากรชี้แจงว่า :
"การนำชิ้นส่วนกระเบื้องเก่า ไปทำเป็นวัตถุโบราณตามกระแสข่าวโซเชียลนั้นกรมศิลปากรไม่ได้ทำ และได้มอบให้กับทางวัดอรุณทั้งหมด แต่หากทางวัดจะนำไปทำก็สามารถที่จะทำได้เนื่องจากเป็นสมบัติของทางวัดโดยขึ้นอยู่กับดุลพินิจของวัด"
ข้อมูลบางส่วนจากผู้ใช้เฟซบุ๊ก Watanyoo Thephuttee
Comments