top of page

คุ้กกี้เสี่ยงทาย (Fortune Cookie) VS. ขนมไหว้พระจันทร์ (Moon Cake)

  • Writer: by TAP special team
    by TAP special team
  • Aug 15, 2017
  • 1 min read

คุ้กกี้เสี่ยงทาย (Fortune Cookie)

คุ้กกี้เสี่ยงทายเป็นคุ้กกี้ชิ้นไม่ใหญ่มาก เนื้อบางกรอบ ลักษณะคล้ายๆ พระจันทร์ครึ่งเสี้ยว เนื้อในเป็นโพรงเวลาจะทานต้องหักออกเป็นสองชิ้น

เมื่อหักคุกกี้ออกจากกันแล้วในนั้นจะมีกระดาษคำทำนาย คำอวยพร หรือ ชุดเลขนำโชคอยู่ด้านใน บางคนก็จะอธิฐานคำถามในเรื่องที่อยากรู้อนาคตเพื่อเสี่ยงทายคำตอบจากข้อความที่ซ่อนอยู่ในคุ้กกี้

ต้นกำเนิดนั้นไม่มีใครทราบแน่ชัด ส่วนมากคิดว่าน่าจะเป็นของชาวจีนคิดค้น เพราะเจ้าคุ้กกี้นี้ส่วนใหญ่มีไว้ให้ลูกค้าในร้านอาหารจีนที่สหรัฐอเมริกา

แต่อีกความเชื่อหนึ่งบอกว่า ในช่วงศตวรรษที่ 19 ชาวญี่ปุ่นใน "เกียวโต" (Kyuto) เป็นคนริเริ่มทำขนมหลากหลายชนิดขึ้นมาในวัด เพื่อแจกจ่ายให้แก่ผู้ที่มาไหว้พระ เรียกกันว่า omikuji "โอมิคุจิ".

ซึ่งภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (WorldWar2)ชาวญี่ปุ่นที่อพยพมาอาศัยอยู่ที่ เมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา พวกเขาก็ได้นำความรู้ในการทำขนมชนิดนี้ติดตัวมาด้วยนั่นเอง

ขนมไหว้พระจันทร์ (Moon Cake)

ขนมไหว้พระจันทร์ เป็นขนมที่ใช้สำหรับเซ่นไหว้ดวงจันทร์ นับเป็นของสำคัญที่ใช้ในเทศกาลนี้ ลักษณะของขนมมีทรงกลม ลักษณะคล้ายขนมเค้ก ทำจากแป้งนวด แล้วกดใส่แป้นพิมพ์ที่มีลวดลายต่าง ๆ จากนั้นนำไปอบ และเคลือบผิวหน้าด้วยน้ำเชื่อมภายในบรรจุไส้ต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธัญพืชต่าง ๆ อาทิ ทุเรียน, เมล็ดบัว, แมคคาเดเมีย, พุทราจีน เป็นต้น

ความเป็นมาของขนมไหว้พระจันทร์ คือ ในยุคปลายราชวงศ์หยวน ที่ชาวฮั่นถูกปกครองอย่างกดขี่โดยชาวมองโกล ชาวฮั่นเมื่อต้องการจะก่อกบฏต่อต้าน ด้วยการแอบสอดสาส์นไว้ในขนมชิ้นนี้ แล้วนำไปแจกจ่ายให้กับทุกบ้าน ในสาส์นมีข้อความว่า

" คืนนี้ในเวลายาม 3 จงสังหารทหารมองโกลพร้อมกัน "

อันนำมาซึ่งเอกราชของชาวฮั่น จนกลายเป็นประเพณีการรับประทานและไหว้ขนมไหว้พระจันทร์ในปัจจุบัน

ปัจจุบัน ขนมไหว้พระจันทร์ได้มีผู้ผลิตและจำหน่ายมากมายหลายแห่ง ได้มีการดัดแปลงใส่ไส้ต่าง ๆ เพิ่มขึ้นจากในอดีตมาก เช่น ช็อคโกแล็ต, ชาเขียว, คัสตาร์ด, อัลมอนด์ เป็นต้น หรือดัดแปลงไปเป็นแบบต่าง ๆ เช่น ดัดแปลงคล้ายขนมโมจิ หรือไอศกรีมและกลายมาเป็นธุรกิจสำคัญที่มีมูลค่าการตลาดและการแข่งขันสูงมากในช่วงเทศกาลนี้ในแต่ละปี

ในมาเลเซีย ขนมไหว้พระจันทร์เรียกว่า กู อิฮ์ บู ลัน (kulh bulan) มีหลายไส้เช่นเดียวกับขนมไหว้พระจันทร์ในไทย

จากการที่ขนมทั้ง 2 ชนิดต่างเอกลักษณ์ที่คล้ายกันคือ สอดใส่กระดาษเอาไว้ด้านใน (ปัจจุบัน ขนมไหว้พระจันทร์ ไม่ใส่กระดาษไว้ด้านในแล้ว )

และชาวจีนส่วนมากยอมรับในตำนานของขนมไหว้พระจันทรืมากกว่าคุ้กกี้เสี่ยวทาย ดังนั้นขนมไหว้พระจันทร์จึงถือว่าเป็นต้นตำรับขนมจีนตัวจริง

Comments


bottom of page